ชวนประกวดนวัตกรรมการศึกษาชิงถ้วยพระเทพในงานEDUCA2009
นายมนตรี แย้มกสิกร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการประชุมนานาชาติด้านกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ EDUCA 2009 กล่าวว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ 16 สถาบัน และสภาคณบดีครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย 71 สถาบันรัฐและเอกชนทั่วประเทศขอเชิญ ครู อาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนภาคเอกชน ผู้บริหารและนักศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งนวัตกรรมทางการศึกษาเข้าประกวดชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการกระตุ้นการขับเคลื่อนของคนไทยในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาการศึกษาและสังคมของประเทศในระยะยาว อีกทั้งยังกระตุ้นให้เข้าของผลงานได้นำผลงาน วิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ไปจดสิทธิบัตร และใช้ประโยชน์เชิงการศึกษาอีกด้วยแบ่งรางวัลเป็น 4 ประเภท คือ รางวัลนวัตกรรมเพื่อการศึกษา ประเภทสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีทางการศึกษา ประเภทบุคคล และกลุ่มบุคคล จำนวน 2 รางวัล รางวัลนวัตกรรมเพื่อการศึกษา ประเภท เทคนิคและวิธีการทางการศึกษาประเภทการบริหารและการจัดการทางการศึกษา สถานศึกษา จำนวน 1 รางวัล และรางวัลเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ โดยส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม สำหรับผู้ที่ชนะเลิศการประกวดจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะมอบในงาน EDUCA 2009 ระหว่างวันที่ 15-17 ต.ค. 52 ณ ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0-2748-7007 ต่อ 126,137,08-1868-3211,08-1868-3211,08-1614-3096 หรือที่เว็บไซต์ www.deuca-iclt.com
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553
ข่าวนวัตกรรมการศึกษา
ไอบีเอ็มเปิดตัวโปรแกรมฝึกภาษาอังกฤษ “รีดดิ้ง คอมพาเนียน”
ไอบีเอ็มเปิดตัว “Reading Companion” โปรแกรมฝึกภาษาอังกฤษผ่านเว็บไซต์ฟรีตลอด 24 ชม. เตรียมเผยแพร่ให้โรงเรียนต่างๆ หวังติดอาวุธทางปัญญาให้เด็กไทยเก่งภาษาและคอมพิวเตอร์ พร้อมนำร่องมอบโปรแกรมให้ 2 โรงเรียน “สาธิตจุฬาฯ - สาธิตเกษตรฯ” หนึ่งในวิสัยทัศน์ของไอบีเอ็มคือการสนับสนุนการศึกษาและการพัฒนาบุคลากร เพราะไอบีเอ็มตระหนักดีว่าการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกทุกวันนี้เชื่อมโยงถึงกันหมด จึงทำให้การศึกษาและความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราอยู่ได้เวทีโลก ดังนั้น การพัฒนาทักษะทางภาษาจึงเป็นหนึ่งในโครงการที่ไอบีเอ็มดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
นายธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า “สำหรับประเทศไทย เรายังไม่สามารถผลิตบุคลากรให้เพียงพอทั้งคุณภาพและปริมาณเพื่อรองรับกับความเจริญรุดหน้าของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาการขาดความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ ไอบีเอ็มจึงเห็นโอกาสที่เราจะสามารถนำความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทย เนื่องจากเรามองว่าการศึกษาเพื่อบุคลากรในศตวรรษใหม่ หรือ Education for 21st Century นั้น ควรมุ่งเป้าหมายไปที่การผลิตให้เยาวชนมีความสามารถในด้านต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงด้านภาษา จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวโปรแกรม Reading Companion เป็นครั้งแรกในประเทศไทยในวันนี้”
นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวถึงรายละเอียดของโปรแกรม Reading Companion (รีดดิ้ง คอมพาเนียน) ว่า “Reading Companion เป็นซอฟต์แวร์เพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านเว็บไซต์ ด้วยการใช้เทคโนโลยีจดจำเสียง (Voice Recognition Technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ไอบีเอ็มได้พัฒนามานานกว่าทศวรรษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเด็กและผู้ใหญ่ทั่วโลกให้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เน้นกลุ่มเป้าหมายคือเด็กอายุตั้งแต่ 5-7 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ใหญ่ที่ต้องการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ซึ่งปัจจุบันไอบีเอ็มได้มอบสิทธิการใช้โปรแกรมดังกล่าวให้แก่โรงเรียนและองค์กรไม่แสวงผลกำไรกว่า 750 แห่งใน 26 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
สำหรับการมอบสิทธิการใช้โปรแกรม Reading Companion ให้แก่โรงเรียน 2 แห่ง คือโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา นั้น นางอรอุมากล่าวถึงที่มาว่า ก่อนหน้านี้ไอบีเอ็มได้เคยเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนให้แก่ทั้งสองโรงเรียนนี้มาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ในครั้งนี้ไอบีเอ็มจึงได้ร่วมมือกับทั้งสองโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมอบสิทธิการใช้โปรแกรม Reading Companion ซึ่งภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ทั้งสองโรงเรียนจะนำโปรแกรม Reading Companion เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษต่อไป
รศ. สุปราณี จิราณรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) กล่าวว่า “ในยุคปัจจุบันที่อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ในทุกๆ สาขา อย่างไรก็ตามนักเรียนไทยปัจจุบันยังขาดทักษะภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการฟังและการพูด ซึ่งที่ผ่านมาทางโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ และได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้มีความก้าวหน้าและทันสมัยมาโดยตลอด”
ถึงแม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยเริ่มมีการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันมากขึ้นก็ตาม แต่จากข้อมูลขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) ในปี 2549 พบว่า การใช้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องในโรงเรียนไทยอยู่ในอัตราที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศลาวและประเทศเวียดนาม
“การสนับสนุนจากไอบีเอ็มในครั้งนี้นับเป็นที่น่ายินดีที่โรงเรียนได้สิทธิการใช้โปรแกรม Reading Companion ซึ่งเชื่อว่าจะเข้ามาเป็นส่วนเสริมที่สามารถช่วยให้นักเรียนมีเครื่องมือในการฝึกฝนด้วยตนเอง นอกเหนือไปจากการเรียนจากครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว โดยโรงเรียนจะนำโปรแกรม Reading Companion เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น และในระยะยาว เมื่อเยาวชนไทยรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น ก็จะเปรียบเสมือนได้ติดอาวุธสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับสากลได้”
รศ. ดร. ดารณี อุทัยรัตนกิจ อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “หนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของโรงเรียนสาธิตเกษตรฯ คือการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา โปรแกรม Reading Companion จึงถือเป็นอีกนวัตกรรมเพื่อการศึกษาที่จะช่วยเพิ่มทักษะในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตลอดจนเสริมสร้างทักษะทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ของนักเรียน เพื่อสร้างนักเรียนให้มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ตลอดจนชุมชนและประเทศชาติต่อไป
ทั้งนี้ ในการเรียนภาษาอังกฤษที่ได้ผล การฝึกฝนเท่านั้นที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่านักเรียนจะเรียนหลักสูตรใดมาก็ตาม ซึ่งโปรแกรม Reading Companion สามารถตอบโจทย์ที่ว่านี้ เพราะนักเรียนสามารถเข้ามาฝึกอ่านและฝึกออกเสียงแบบตัวต่อตัวกับโปรแกรมได้ตลอดเวลาในเว็บไซต์ และนอกจากจะได้ฝึกภาษาแล้วยังเป็นการสร้างทักษะทางด้านการใช้เทคโนโลยีให้แก่เด็กอีกด้วย จึงเชื่อว่าโปรแกรม Reading Companion จะทำให้เด็กนักเรียนของโรงเรียนมีพื้นฐานทั้งด้านภาษาและคอมพิวเตอร์ที่ดีต่อไปในอนาคต”
ทั้งนี้ นายธันวา กล่าวต่อไปถึงแผนการสนับสนุนการศึกษาของไอบีเอ็มในอนาคตว่า ความร่วมมือของทั้งสองโรงเรียนในวันนี้ถือเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งต่อไปไอบีเอ็มจะมอบสิทธิการใช้โปรแกรม Reading Companion ให้โรงเรียนต่างๆ เพื่อขยายโอกาสทางด้านการศึกษา โดยเบื้องต้นจะเน้นที่โรงเรียนรัฐบาล จากนั้นจึงขยายไปสู่โรงเรียนและสถาบันต่างๆ ที่สนใจต่อไป โดยโรงเรียนที่ร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
“ทุกวันนี้โลกเราเชื่อมโยงถึงกันทั้งทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม และการศึกษาก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาโลกนี้ให้ฉลาดขึ้น ความร่วมมือในวันนี้จึงถือเป็นโอกาสดีที่ไอบีเอ็มได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาของไทย และไอบีเอ็มจะทำอย่างต่อเนื่องต่อไป” นายธันวา กล่าว
สำหรับโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Reading Companion สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งขอเอกสารเพื่อรับการพิจารณามอบสิทธิในการใช้โปรแกรมได้ที่ ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด โทร. 02-273-4633
ไอบีเอ็มเปิดตัว “Reading Companion” โปรแกรมฝึกภาษาอังกฤษผ่านเว็บไซต์ฟรีตลอด 24 ชม. เตรียมเผยแพร่ให้โรงเรียนต่างๆ หวังติดอาวุธทางปัญญาให้เด็กไทยเก่งภาษาและคอมพิวเตอร์ พร้อมนำร่องมอบโปรแกรมให้ 2 โรงเรียน “สาธิตจุฬาฯ - สาธิตเกษตรฯ” หนึ่งในวิสัยทัศน์ของไอบีเอ็มคือการสนับสนุนการศึกษาและการพัฒนาบุคลากร เพราะไอบีเอ็มตระหนักดีว่าการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกทุกวันนี้เชื่อมโยงถึงกันหมด จึงทำให้การศึกษาและความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราอยู่ได้เวทีโลก ดังนั้น การพัฒนาทักษะทางภาษาจึงเป็นหนึ่งในโครงการที่ไอบีเอ็มดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
นายธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า “สำหรับประเทศไทย เรายังไม่สามารถผลิตบุคลากรให้เพียงพอทั้งคุณภาพและปริมาณเพื่อรองรับกับความเจริญรุดหน้าของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาการขาดความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ ไอบีเอ็มจึงเห็นโอกาสที่เราจะสามารถนำความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทย เนื่องจากเรามองว่าการศึกษาเพื่อบุคลากรในศตวรรษใหม่ หรือ Education for 21st Century นั้น ควรมุ่งเป้าหมายไปที่การผลิตให้เยาวชนมีความสามารถในด้านต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงด้านภาษา จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวโปรแกรม Reading Companion เป็นครั้งแรกในประเทศไทยในวันนี้”
นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวถึงรายละเอียดของโปรแกรม Reading Companion (รีดดิ้ง คอมพาเนียน) ว่า “Reading Companion เป็นซอฟต์แวร์เพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านเว็บไซต์ ด้วยการใช้เทคโนโลยีจดจำเสียง (Voice Recognition Technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ไอบีเอ็มได้พัฒนามานานกว่าทศวรรษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเด็กและผู้ใหญ่ทั่วโลกให้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เน้นกลุ่มเป้าหมายคือเด็กอายุตั้งแต่ 5-7 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ใหญ่ที่ต้องการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ซึ่งปัจจุบันไอบีเอ็มได้มอบสิทธิการใช้โปรแกรมดังกล่าวให้แก่โรงเรียนและองค์กรไม่แสวงผลกำไรกว่า 750 แห่งใน 26 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
สำหรับการมอบสิทธิการใช้โปรแกรม Reading Companion ให้แก่โรงเรียน 2 แห่ง คือโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา นั้น นางอรอุมากล่าวถึงที่มาว่า ก่อนหน้านี้ไอบีเอ็มได้เคยเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนให้แก่ทั้งสองโรงเรียนนี้มาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ในครั้งนี้ไอบีเอ็มจึงได้ร่วมมือกับทั้งสองโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมอบสิทธิการใช้โปรแกรม Reading Companion ซึ่งภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ทั้งสองโรงเรียนจะนำโปรแกรม Reading Companion เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษต่อไป
รศ. สุปราณี จิราณรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) กล่าวว่า “ในยุคปัจจุบันที่อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ในทุกๆ สาขา อย่างไรก็ตามนักเรียนไทยปัจจุบันยังขาดทักษะภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการฟังและการพูด ซึ่งที่ผ่านมาทางโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ และได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้มีความก้าวหน้าและทันสมัยมาโดยตลอด”
ถึงแม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยเริ่มมีการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันมากขึ้นก็ตาม แต่จากข้อมูลขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) ในปี 2549 พบว่า การใช้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องในโรงเรียนไทยอยู่ในอัตราที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศลาวและประเทศเวียดนาม
“การสนับสนุนจากไอบีเอ็มในครั้งนี้นับเป็นที่น่ายินดีที่โรงเรียนได้สิทธิการใช้โปรแกรม Reading Companion ซึ่งเชื่อว่าจะเข้ามาเป็นส่วนเสริมที่สามารถช่วยให้นักเรียนมีเครื่องมือในการฝึกฝนด้วยตนเอง นอกเหนือไปจากการเรียนจากครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว โดยโรงเรียนจะนำโปรแกรม Reading Companion เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น และในระยะยาว เมื่อเยาวชนไทยรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น ก็จะเปรียบเสมือนได้ติดอาวุธสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับสากลได้”
รศ. ดร. ดารณี อุทัยรัตนกิจ อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “หนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของโรงเรียนสาธิตเกษตรฯ คือการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา โปรแกรม Reading Companion จึงถือเป็นอีกนวัตกรรมเพื่อการศึกษาที่จะช่วยเพิ่มทักษะในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตลอดจนเสริมสร้างทักษะทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ของนักเรียน เพื่อสร้างนักเรียนให้มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ตลอดจนชุมชนและประเทศชาติต่อไป
ทั้งนี้ ในการเรียนภาษาอังกฤษที่ได้ผล การฝึกฝนเท่านั้นที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่านักเรียนจะเรียนหลักสูตรใดมาก็ตาม ซึ่งโปรแกรม Reading Companion สามารถตอบโจทย์ที่ว่านี้ เพราะนักเรียนสามารถเข้ามาฝึกอ่านและฝึกออกเสียงแบบตัวต่อตัวกับโปรแกรมได้ตลอดเวลาในเว็บไซต์ และนอกจากจะได้ฝึกภาษาแล้วยังเป็นการสร้างทักษะทางด้านการใช้เทคโนโลยีให้แก่เด็กอีกด้วย จึงเชื่อว่าโปรแกรม Reading Companion จะทำให้เด็กนักเรียนของโรงเรียนมีพื้นฐานทั้งด้านภาษาและคอมพิวเตอร์ที่ดีต่อไปในอนาคต”
ทั้งนี้ นายธันวา กล่าวต่อไปถึงแผนการสนับสนุนการศึกษาของไอบีเอ็มในอนาคตว่า ความร่วมมือของทั้งสองโรงเรียนในวันนี้ถือเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งต่อไปไอบีเอ็มจะมอบสิทธิการใช้โปรแกรม Reading Companion ให้โรงเรียนต่างๆ เพื่อขยายโอกาสทางด้านการศึกษา โดยเบื้องต้นจะเน้นที่โรงเรียนรัฐบาล จากนั้นจึงขยายไปสู่โรงเรียนและสถาบันต่างๆ ที่สนใจต่อไป โดยโรงเรียนที่ร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
“ทุกวันนี้โลกเราเชื่อมโยงถึงกันทั้งทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม และการศึกษาก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาโลกนี้ให้ฉลาดขึ้น ความร่วมมือในวันนี้จึงถือเป็นโอกาสดีที่ไอบีเอ็มได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาของไทย และไอบีเอ็มจะทำอย่างต่อเนื่องต่อไป” นายธันวา กล่าว
สำหรับโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Reading Companion สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งขอเอกสารเพื่อรับการพิจารณามอบสิทธิในการใช้โปรแกรมได้ที่ ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด โทร. 02-273-4633
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553
ข่าวไอทีวันที่ 19 มกราคม 2553
Appleโชว์ iType ออพชั่นใหม่ของiPhone
แข่งขันร้อนแรง Lenovo เผยลูกเล่นเด็ด ออพชั่นคีย์บอร์ดถอดได้ของ LePhone ด้าน Apple งัด iType ออพชั่นเสริมคีย์บอร์ด ของ iPhone และ iPod Touch มาเอาใจลูกค้าเช่นกัน...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 16 ม.ค. ว่า Apple Inc. ไม่น้อยหน้า หลัง Lenovo เผยลูกเล่นเด็ด ออพชั่นคีย์บอร์ดถอดได้ ของโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน LePhone จึงปล่อยตัว iType อุปกรณ์เสริมคีย์บอร์ดขนาดมาตรฐาน เอาใจลูกค้า iPhone และ iPod Touch เพื่อความสะดวกสะบายในการพิมพ์ข้อความออนไลน์
นอกจากนี้ iType ยังสามารถชาร์ตแบตเตอรี่ ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย สนนราคาอยู่ราว 4,900 บาท นับเป็นการแข่งขันร้อนแรงของอุปกรณ์ไอที ที่แต่ละแบรนด์พยายามงัดจุดเด่นออกมาโต้คู่แข่งให้ถึงที่สุด
แข่งขันร้อนแรง Lenovo เผยลูกเล่นเด็ด ออพชั่นคีย์บอร์ดถอดได้ของ LePhone ด้าน Apple งัด iType ออพชั่นเสริมคีย์บอร์ด ของ iPhone และ iPod Touch มาเอาใจลูกค้าเช่นกัน...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 16 ม.ค. ว่า Apple Inc. ไม่น้อยหน้า หลัง Lenovo เผยลูกเล่นเด็ด ออพชั่นคีย์บอร์ดถอดได้ ของโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน LePhone จึงปล่อยตัว iType อุปกรณ์เสริมคีย์บอร์ดขนาดมาตรฐาน เอาใจลูกค้า iPhone และ iPod Touch เพื่อความสะดวกสะบายในการพิมพ์ข้อความออนไลน์
นอกจากนี้ iType ยังสามารถชาร์ตแบตเตอรี่ ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย สนนราคาอยู่ราว 4,900 บาท นับเป็นการแข่งขันร้อนแรงของอุปกรณ์ไอที ที่แต่ละแบรนด์พยายามงัดจุดเด่นออกมาโต้คู่แข่งให้ถึงที่สุด
การใช้ห้องปฎิบัติการ Micro Teaching มีประโยชน์ดังนี้
จากการรายงานหน้าห้อง Micro Teaching
กลุ่มที่ 1 รายงานเกี่ยวกับเทคนิค access ได้อย่างดี ใช้เพียงกระดาษใน vistualizer จึงไม่ค่อยน่าสนใจเท่าที่ควร
กลุ่มที่ 2 เตรียมการนำเสนอโดย power point มาประกอบ ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้น แต่พูดไม่ค่อยเข้าใจเท่าที่ควร
กลุ่มที่ 3 รายงานเกี่ยวกับวิธีการทำ relationship โปรแกรม access โดยเตรียมตัวอย่างในการ present สนุกกับการอธิบายให้เข้าใจ
กลุ่มที่ 4 เพื่อนรายงานเกี่ยวกับวิธีการทำ relationship ในโปรแกรม access โดยการอธิบายยังไม่ค่อยพร้อมกับวิธีการทำ
การใช้ห้องปฎิบัติการ Micro Teaching มีประโยชน์ดังนี้
1. Bluetooth ใช้ติดต่อกับอาจารย์ในห้องเรียน
2. โปรเจคเตอร์ ฉายได้อย่างชัดเจน
3. เครื่อง vistualizer ฉายจากกระดาษ
4. กล้องดิจิตอล ถ่ายภาพการนำเสนอ
5. notebook เปิดงานนำเสนอ
กลุ่มที่ 1 รายงานเกี่ยวกับเทคนิค access ได้อย่างดี ใช้เพียงกระดาษใน vistualizer จึงไม่ค่อยน่าสนใจเท่าที่ควร
กลุ่มที่ 2 เตรียมการนำเสนอโดย power point มาประกอบ ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้น แต่พูดไม่ค่อยเข้าใจเท่าที่ควร
กลุ่มที่ 3 รายงานเกี่ยวกับวิธีการทำ relationship โปรแกรม access โดยเตรียมตัวอย่างในการ present สนุกกับการอธิบายให้เข้าใจ
กลุ่มที่ 4 เพื่อนรายงานเกี่ยวกับวิธีการทำ relationship ในโปรแกรม access โดยการอธิบายยังไม่ค่อยพร้อมกับวิธีการทำ
การใช้ห้องปฎิบัติการ Micro Teaching มีประโยชน์ดังนี้
1. Bluetooth ใช้ติดต่อกับอาจารย์ในห้องเรียน
2. โปรเจคเตอร์ ฉายได้อย่างชัดเจน
3. เครื่อง vistualizer ฉายจากกระดาษ
4. กล้องดิจิตอล ถ่ายภาพการนำเสนอ
5. notebook เปิดงานนำเสนอ
ข่าว IT วันนี้ 18 มกราคม 2553
"กูเกิล" ขอเล่นด้วย "คลาวด์สตอเรจ"
และแล้ว กูเกิล ผู้กำลังทำแทบทุกอย่างเพื่อยึดครองโลกไซเบอร์ ก็กระโดดเข้ามาในสมรภูมิ "คลาวด์ สตอเรจ" อีกเจ้า โดยผ่านเว็บ แอปพลิเคชั่น "กูเกิลดอคส์" ที่ให้บริการอยู่ ผู้ใช้แอปพลิเคชั่นตัวนี้จะสามารถอัพโหลดไฟล์ทุกชนิดขึ้นไปเก็บไว้ที่คลาวด์สตอเรจได้ ในเบื้องต้นจะให้พื้นที่ฟรีไม่เกิน 1 GB
ด้วยฐานของผู้ใช้งานกูเกิลดอคส์ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้อยู่ในกลุ่มคนที่ทำงานแบบไม่ติดสถานที่ และ การทำงานร่วมกันเป็น กลุ่ม จะทำให้การก้าวเข้ามาให้บริการ คลาวด์สตอเรจของกูเกิลเป็นจังหวะก้าวที่น่าจับตา เพราะยักษ์ใหญ่ไมโครซอฟท์ก็ให้บริการนี้อยู่แล้วสำหรับผู้ใช้บริการวินโดวส์ ไลฟ์ โดยผ่าน "สกายไดรฟ์" รวมทั้งโมบายมีของแอปเปิลที่เป็นบริการแบบไม่ฟรีด้วย
แนวทางของกูเกิลที่ผ่าน ๆ มารวมทั้งบริการใหม่นี้เห็นได้ชัดว่าเป็นการต่อยอดธุรกิจจากผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นมา ในกรณีนี้ก็คือ กูเกิลดอคส์ต่อไปสู่คลาวด์สตอเรจ ซึ่งพื้นที่ฟรี 1 GB นั้น ถ้าใช้งานกันจริง ๆ นอกเหนือไปจากงานเอกสารทั่ว ๆ ไปแล้วในปัจจุบันถือว่าไม่มากนัก
ผู้ที่ต้องการพื้นที่เพิ่มมากกว่า 1 GB สามารถสมัครใช้งานแบบเสียเงินได้โดย กูเกิลคิดส่วนที่เกินจากนั้น 25 เซนต์ต่อ 1 GB ต่อปี ส่วนผู้ที่ใช้
บริการ กูเกิล แอพส์ พรีเมียร์ ซึ่งเป็นชุดแอปพลิเคชั่นที่ใช้กันอยู่ในองค์กรธุรกิจเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีและเสริมประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันเทียบเคียงได้กับไมโครซอฟท์เอ็กซ์เชนจ์ สามารถซื้อพื้นที่เพิ่มเติมได้ในราคา 3.5 เหรียญสหรัฐต่อ GB ต่อปี
จุดเด่นของกูเกิลอยู่ตรงที่แอปพลิชั่นของกูเกิลเป็นเว็บแอปพลิเคชั่นข้ามแพลตฟอร์มและไม่อิงกับการติดตั้งซอฟต์แวร์ใด ๆ ลงในฮาร์ดแวร์ ทำให้ยืดหยุ่นมากกับการทำงานในโลกยุคใหม่
คลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งมาแรงมากในปีที่ผ่านมาน่าจะเริ่มปักหลักมั่นคงและกลายเป็นของธรรมดายิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป ที่นับวันวิถีชีวิตจะเป็นแบบโมบายล์มากขึ้นเรื่อย ๆ
บริการคลาวด์สตอเรจนั้น เป็นมากกว่าเว็บรับฝากไฟล์โดยทั่วไป ตรงที่ระบบการจัดการที่ทำให้สามารถแชร์กับคนอื่นได้เสมือนกับเป็นโฟลเดอร์หนึ่งบนเครื่อง ทว่าสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา
และแล้ว กูเกิล ผู้กำลังทำแทบทุกอย่างเพื่อยึดครองโลกไซเบอร์ ก็กระโดดเข้ามาในสมรภูมิ "คลาวด์ สตอเรจ" อีกเจ้า โดยผ่านเว็บ แอปพลิเคชั่น "กูเกิลดอคส์" ที่ให้บริการอยู่ ผู้ใช้แอปพลิเคชั่นตัวนี้จะสามารถอัพโหลดไฟล์ทุกชนิดขึ้นไปเก็บไว้ที่คลาวด์สตอเรจได้ ในเบื้องต้นจะให้พื้นที่ฟรีไม่เกิน 1 GB
ด้วยฐานของผู้ใช้งานกูเกิลดอคส์ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้อยู่ในกลุ่มคนที่ทำงานแบบไม่ติดสถานที่ และ การทำงานร่วมกันเป็น กลุ่ม จะทำให้การก้าวเข้ามาให้บริการ คลาวด์สตอเรจของกูเกิลเป็นจังหวะก้าวที่น่าจับตา เพราะยักษ์ใหญ่ไมโครซอฟท์ก็ให้บริการนี้อยู่แล้วสำหรับผู้ใช้บริการวินโดวส์ ไลฟ์ โดยผ่าน "สกายไดรฟ์" รวมทั้งโมบายมีของแอปเปิลที่เป็นบริการแบบไม่ฟรีด้วย
แนวทางของกูเกิลที่ผ่าน ๆ มารวมทั้งบริการใหม่นี้เห็นได้ชัดว่าเป็นการต่อยอดธุรกิจจากผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นมา ในกรณีนี้ก็คือ กูเกิลดอคส์ต่อไปสู่คลาวด์สตอเรจ ซึ่งพื้นที่ฟรี 1 GB นั้น ถ้าใช้งานกันจริง ๆ นอกเหนือไปจากงานเอกสารทั่ว ๆ ไปแล้วในปัจจุบันถือว่าไม่มากนัก
ผู้ที่ต้องการพื้นที่เพิ่มมากกว่า 1 GB สามารถสมัครใช้งานแบบเสียเงินได้โดย กูเกิลคิดส่วนที่เกินจากนั้น 25 เซนต์ต่อ 1 GB ต่อปี ส่วนผู้ที่ใช้
บริการ กูเกิล แอพส์ พรีเมียร์ ซึ่งเป็นชุดแอปพลิเคชั่นที่ใช้กันอยู่ในองค์กรธุรกิจเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีและเสริมประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันเทียบเคียงได้กับไมโครซอฟท์เอ็กซ์เชนจ์ สามารถซื้อพื้นที่เพิ่มเติมได้ในราคา 3.5 เหรียญสหรัฐต่อ GB ต่อปี
จุดเด่นของกูเกิลอยู่ตรงที่แอปพลิชั่นของกูเกิลเป็นเว็บแอปพลิเคชั่นข้ามแพลตฟอร์มและไม่อิงกับการติดตั้งซอฟต์แวร์ใด ๆ ลงในฮาร์ดแวร์ ทำให้ยืดหยุ่นมากกับการทำงานในโลกยุคใหม่
คลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งมาแรงมากในปีที่ผ่านมาน่าจะเริ่มปักหลักมั่นคงและกลายเป็นของธรรมดายิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป ที่นับวันวิถีชีวิตจะเป็นแบบโมบายล์มากขึ้นเรื่อย ๆ
บริการคลาวด์สตอเรจนั้น เป็นมากกว่าเว็บรับฝากไฟล์โดยทั่วไป ตรงที่ระบบการจัดการที่ทำให้สามารถแชร์กับคนอื่นได้เสมือนกับเป็นโฟลเดอร์หนึ่งบนเครื่อง ทว่าสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา
ข่าว IT วันนี้ 15 มกราคม 2553
แฮคเกอร์เล็งเจาะสมาร์ทโฟน ไอโฟน แอนดรอยด์ แชมป์ปี53
เผยผลสำรวจพบแฮคเกอร์ปี 53 พุ่งเป้าโจมตีมือถือสมาร์ทโฟนมากขึ้น หลังไอโฟน-แอนดรอยด์ ขึ้นแท่นยอดฮิตสำหรับธุรกิจ
เว็บไซต์ข่าวต่างประเทศ เปิดเผยรายงานจากบริษัทด้านความปลอดภัย "เว็บเซนส์ ซิเคียวริตี้ แลบส์" ซึ่งจดทะเบียนในตลาดแนสแด็ก ระบุว่า สมาร์ทโฟน มีแนวโน้มที่จะเป็นเป้าหมายของเหล่าแฮคเกอร์มากขึ้นในปีนี้ หลังจากแพลทฟอร์ม และระบบปฏิบัติการใหม่ๆ อย่างเช่น แมคส์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาเคลื่อนที่ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อสิ้นปี 2552 เว็บเซนส์ ได้เปิดเผยรายงานว่า แพลทฟอร์มไอโฟน ได้กลายเป็นเป้าหมายแรกของการโจมตีจากแฮคเกอร์ และเริ่มปรากฏมัลแวร์ออกมาขโมยข้อมูลจากไอโฟนเป็นครั้งแรก
ขณะที่ รายงานจากดาร์ค รีดดิ้ง กล่าวว่า กลางเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา วอลล์เปเปอร์ของไอโฟน ก็ถูกแฮคเกอร์เข้ามาเปลี่ยน และยังมีรายงานอื่นๆ ตามมาเกี่ยวกับเครื่องมือใหม่ๆ สำหรับใช้เจาะระบบไอโฟน ที่สามารถคัดลอกข้อมูลของผู้ใช้ ทั้งอีเมล์, รายชื่อและเบอร์โทรศัพท์ที่เก็บไว้ในโฟนบุ๊ค, เอสเอ็มเอส และข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ใช้ไม่ทันระวังว่าจะรั่วไหล
“สมาร์ทโฟนต่างๆ เช่น ไอโฟน และแอนดรอยด์ ซึ่งถูกใช้งานเพื่อจุดประสงค์เชิงธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังกลายเป็นพีซีขนาดเล็กที่มีความสำคัญ และปีนี้ก็จะเผชิญกับการโจมตีเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ทั่วๆ" เว็บเซนส์ ระบุ
นอกจากนี้ ระบบความปลอดภัยที่อ่อนแอของแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนสมาร์ทโฟน จะทำให้ข้อมูลของลูกค้าและองค์กร ต้องเผชิญความเสี่ยง และด้วยฐานผู้ใช้งานที่เติบโตอย่างรวดเร็ว การพัฒนาของธุรกิจ และการใช้งานมากขึ้นสำหรับธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ จะยิ่งทำให้ปีนี้ แฮคเกอร์จะทุ่มเทกับการเข้าไปเจาะข้อมูลในสมาร์ทโฟนยิ่งขึ้น
เผยผลสำรวจพบแฮคเกอร์ปี 53 พุ่งเป้าโจมตีมือถือสมาร์ทโฟนมากขึ้น หลังไอโฟน-แอนดรอยด์ ขึ้นแท่นยอดฮิตสำหรับธุรกิจ
เว็บไซต์ข่าวต่างประเทศ เปิดเผยรายงานจากบริษัทด้านความปลอดภัย "เว็บเซนส์ ซิเคียวริตี้ แลบส์" ซึ่งจดทะเบียนในตลาดแนสแด็ก ระบุว่า สมาร์ทโฟน มีแนวโน้มที่จะเป็นเป้าหมายของเหล่าแฮคเกอร์มากขึ้นในปีนี้ หลังจากแพลทฟอร์ม และระบบปฏิบัติการใหม่ๆ อย่างเช่น แมคส์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาเคลื่อนที่ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อสิ้นปี 2552 เว็บเซนส์ ได้เปิดเผยรายงานว่า แพลทฟอร์มไอโฟน ได้กลายเป็นเป้าหมายแรกของการโจมตีจากแฮคเกอร์ และเริ่มปรากฏมัลแวร์ออกมาขโมยข้อมูลจากไอโฟนเป็นครั้งแรก
ขณะที่ รายงานจากดาร์ค รีดดิ้ง กล่าวว่า กลางเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา วอลล์เปเปอร์ของไอโฟน ก็ถูกแฮคเกอร์เข้ามาเปลี่ยน และยังมีรายงานอื่นๆ ตามมาเกี่ยวกับเครื่องมือใหม่ๆ สำหรับใช้เจาะระบบไอโฟน ที่สามารถคัดลอกข้อมูลของผู้ใช้ ทั้งอีเมล์, รายชื่อและเบอร์โทรศัพท์ที่เก็บไว้ในโฟนบุ๊ค, เอสเอ็มเอส และข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ใช้ไม่ทันระวังว่าจะรั่วไหล
“สมาร์ทโฟนต่างๆ เช่น ไอโฟน และแอนดรอยด์ ซึ่งถูกใช้งานเพื่อจุดประสงค์เชิงธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังกลายเป็นพีซีขนาดเล็กที่มีความสำคัญ และปีนี้ก็จะเผชิญกับการโจมตีเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ทั่วๆ" เว็บเซนส์ ระบุ
นอกจากนี้ ระบบความปลอดภัยที่อ่อนแอของแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนสมาร์ทโฟน จะทำให้ข้อมูลของลูกค้าและองค์กร ต้องเผชิญความเสี่ยง และด้วยฐานผู้ใช้งานที่เติบโตอย่างรวดเร็ว การพัฒนาของธุรกิจ และการใช้งานมากขึ้นสำหรับธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ จะยิ่งทำให้ปีนี้ แฮคเกอร์จะทุ่มเทกับการเข้าไปเจาะข้อมูลในสมาร์ทโฟนยิ่งขึ้น
ข่าว IT วันนี้ 14 มกราคม 2553
น้องใหม่ "FireOneOne" แรงบันดาลใจจาก ไมโครซอฟท์
งานเปิดตัวระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 เมื่อปลายเดือน ต.ค. 2552 เรียกว่าเป็นเวทีเปิดตัวต่อสาธารณะครั้งสำคัญของบริษัท "ไฟร์ วัน วัน" (FireOneOne) ผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ 6 คน ที่ส่วนใหญ่เพิ่งจบการศึกษาจากหลากหลายสถาบัน และบางคนก็ยังอยู่ระหว่างการรอรับปริญญา
ที่เจอะเจอกันบนเว็บไซต์ท่องเที่ยว ที่คุยกันถูกคอ จนมาร่วมมือกันทำงาน เพราะมีสิ่งที่เหมือนกัน และก็มีความฝันและความสนใจในแนวทางเดียวกัน
ในช่วงที่มีการเปิดตัววินโดวส์ 7 ไม่ว่า ในงานแถลงข่าว ในงานเปิดตัวที่ สยามพารากอนและศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ไฟร์วันวันเรียกว่าเป็นบริษัทซอฟต์แวร์เด็กไทยรายเดียวที่ได้รับเลือกจากไมโครซอฟท์ให้มานำเสนอผลงานสู่สาธารณะ เรียกว่าเป็นการเปิดประตูโอกาสครั้งสำคัญ
สิ่งที่เด็กกลุ่มนี้นำเสนอก็คือ Multi-Touch Technology ของโต๊ะมัลติทัช ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของ "ไมโครซอฟท์ เซอร์เฟซ" ทำให้เริ่มดำเนินการทำเครื่อง Prototype จนสร้างเป็นโต๊ะมัลติทัชจนสำเร็จและใช้งานได้จริง ทำให้ไฟร์ วัน วันได้รับโอกาสที่ดีจากไมโครซอฟท์ให้ไปโชว์ในการเปิดตัววินโดวส์ 7
โต๊ะมัลติทัชที่ว่านี้มีหน้าตาคล้าย "ไมโครซอฟท์ เซอร์เฟซ" ใช้นิ้วเพื่อระบบสัมผัสในการสั่งการที่พัฒนาต่อยอดจากหน้าจอสัมผัสแบบทัชสกรีน
รากฐานความคิดธุรกิจของไฟร์ วัน วัน คือ ความสนุกในการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มแอปเปิล หรือไมโครซอฟท์ ไอโฟนหรือแบล็คเบอร์รี่ ด้วยแนวคิดว่าสามารถเรียนรู้และเข้าใจเทคโนโลยีได้ทุกแขนง โดยไม่ยึดติดกับกรอบเดิม ๆ ที่บริษัทซอฟต์แวร์เคยเป็นกันมา โดยไฟร์ วัน วันวางโพซิชั่นของตัวเอง ไว้ว่า "Creative Software Company"
กำเนิดของ "ไฟร์ วัน วัน" นอกจากความลงตัวของทีมงานแล้ว ยังเป็นความลงตัวของเงินทุน เพราะนอกจากเงินทุนส่วนตัวแล้ว ไฟร์ วัน วันยังได้ทุนดูไบเข้ามาเสริมทัพ จากที่มีรุ่นพี่แนะนำเข้ามา ทำให้การทำงานของไฟร์ วัน วันสามารถก้าวไปตามฝันได้
"ชเล นรินทน์สุขสันติ" หนึ่งในทีมงานและผู้ก่อตั้งไฟร์ วัน วัน เล่าว่า กลุ่มของตนเคยทำงานเป็นที่ปรึกษาด้าน ไอทีมาก่อน ตั้งแต่ยังเรียน
มหาวิทยาลัย จากนั้นเริ่มขยับขึ้นมาเป็นซอฟต์แวร์เฮาส์
หลังจากรวมตัวอย่างหลวม ๆ มานาน สวนทางกับลูกค้าที่เริ่มจริงจังมากขึ้น จึงถึงเวลาที่พวกเขาเลือกที่จะจัดตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการ เพื่อบริหารงานได้ง่ายและเป็นระบบมากขึ้น ส่งผลให้ไฟร์ วัน วันถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงกลางปี 2552
"เราพอใจในความเป็นทีมขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูง ทำงานกันทุกวัน ไม่มีวันหยุด ทำงานกันได้ทุกที่ ทั้งออฟฟิศ, ห้องประชุม, ร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, ล็อบบี้โรงแรม และที่สำคัญสนุกกับการทำงานกันตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นเที่ยงคืนวันศุกร์หรือตีหนึ่งวันอาทิตย์"
"ชเล" เล่าว่า โต๊ะมัลติทัชถือเป็นตัวชูโรงของบริษัท ที่ใช้งบฯพัฒนาโมเดลต้นแบบเกือบ 3 แสนบาท แต่หากนำไปใช้เชิงพาณิชย์จริงก็ขึ้นกับโซลูชั่นที่ลูกค้าแต่ละรายต้องการ ซึ่งการพัฒนามัลติทัชเกิดจากลูกค้าอสังหาริมทรัพย์รายหนึ่งที่อยากได้เพื่อนำไปวางในสำนักงานขายให้ลูกค้าสามารถดู Floor plan, เอกสาร, และรูปแบบห้องลักษณะ 3 มิติ เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพและตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น
เพราะว่าเทรนด์สื่อดิจิทัลมีมากขึ้น และการใช้เมาส์และคีย์บอร์ดไม่สะดวกสบาย การใช้ระบบสัมผัสทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงได้ง่ายกว่า ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีบริษัทรายใหญ่ อาทิ ไมโครซอฟท์ หรือสมาร์ตโฟนเริ่มแนะนำเทคโนโลยีมัลติทัชเผยแพร่ให้คนรู้จักมากขึ้น แต่ยังจำกัดในสหรัฐ ยุโรป
"เฉลิมพล ศรีอุทัยศิริวงศ์" ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอีกคนกล่าวว่า "การใช้งานเชิงคอมเมอร์เชียลของมัลติทัชยังมีข้อจำกัด ตอนนี้ในตลาดส่วนใหญ่เป็นซิงเกิลทัช ต้องเข้าหลายขั้นตอน ไม่ต่างกับการใช้เมาส์ แต่ มัลติทัชสามารถรับข้อมูลที่เข้ามาได้มากกว่า 10 จุด สามารถดีไซน์แอปพลิเคชั่นให้เข้าถึงได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม และหน้าตาน่าใช้มากขึ้น การทำงานอยู่บนพื้นฐานของการเข้าใจโปรแกรมที่ออกมาจากธรรมชาติของมนุษย์จริง ๆ เป็นการแสดงผลและรับคำสั่งในโลกอนาคต"
เทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ เซอร์เฟซ ค่อนข้างล้ำหน้าผู้ผลิตรายอื่น ๆ อยู่มาก อาทิ หากวางบัตรเครดิตลงบนเซอร์เฟซ จะสามารถตัดเงินในบัตรได้เลย หรือวางโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป สามารถแลกรูประหว่างกันได้
"ขณะที่มัลติทัชของไฟร์ วัน วัน ยังต้องพัฒนาต่อไปเพื่อให้ไปถึงระดับนั้น อย่างไรก็ตามต้องขึ้นกับความต้องการของลูกค้าด้วยว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์จริงหรือไม่ เพราะถ้าพัฒนาแล้วลูกค้าไม่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์ถึงขั้นนั้นก็ไม่จำเป็น"
เฉลิมพลอธิบายว่า ประโยชน์ของมัลติทัชสามารถใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ร้านอาหาร ไม่ต้องทำรายการอาหารผ่านเมนูหนังสืออีกต่อไป สั่งอาหารผ่านโต๊ะได้เลย หรือกลุ่มอสังหาริมทริพย์ กลุ่มสถาบันการเงิน นำไปใช้โชว์โมเดลห้องต้นแบบ เครื่องมือทางการเงิน เปรียบเทียบ นวัตกรรมทางการเงิน ลักษณะที่ปรึกษาทางการเงินส่วนตัวที่เข้าใจง่ายขึ้น เป็นต้น
ปัจจุบันก็มีหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการทำวอร์รูมสนใจนำโต๊ะมัลติทัชไปดูแผนที่ แต่หลัก ๆ คือ ภาคเอกชน เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ทั้งสองยังเล่าถึงแผนโกอินเตอร์ด้วย โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการหา โลคอลพาร์ตเนอร์ ซึ่งได้มีการทาบทาม โอเปอเรเตอร์ในดูไบเพื่อทำตลาดแอปพลิเคชั่นบนมือถือ
นอกจากโต๊ะมัลติทัช บริษัทยังมีแอปพลิเคชั่นภายใต้ชื่อ "Mango TV" ลักษณะเป็นมีเดียเซ็นเตอร์ประจำห้อง ไม่ว่าจะเป็นในโรงแรมหรือโรงพยาบาล ให้ลูกค้าเลือกดูหนัง ฟังเพลง สั่งอาหารจากทีวี หรือดูรายงานทางการแพทย์ได้ผ่านรีโมตคอนโทรล นอกจากความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้บริการแล้ว ยังช่วยให้เจ้าของกิจการได้ลดค่าใช้จ่ายด้วย
ถือเป็นการพัฒนาสินค้าโดยดึงความสามารถของแพลตฟอร์มแอปเปิลมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ช่วยให้แขกที่มาพักสามารถจัดโปรแกรมทัวร์ สั่งอาหาร เรียกพนักงานได้แบบครบวงจร ซึ่งปัจจุบันมีโรงแรมที่หัวหินใช้บริการ และโรงพยาบาลรามคำแหงกำลังติดตั้งระบบภายในห้องคนไข้
รวมถึงเทคโนโลยี Augmented reality กล่าวคือ แอปพลิเคชั่นบนมือถือที่จะปรากฏภาพสามมิติ รูป ไอคอน ป้ายบอกทางจราจร ปรากฏขึ้นมาบนมือถือ เมื่อผ่านจุดรับสัญญาณ หรือขับรถอยู่บนถนน อยากรู้ว่าตึกอะไรอยู่ข้างหน้า เพียงชูมือถือขึ้นมาก็จะรู้ได้ว่า ตึกนั้นคืออะไรผ่านทางหน้าจอ และยังสามารถคลิกต่อเพื่อดูการเดินทาง เช็กโปรโมชั่นได้ หรือจะพัฒนาร่วมกับระบบนำทางจีพีเอส ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มมีการพูดคุยกับโอเปอเรเตอร์บางรายแล้ว คาดว่าปีนี้จะได้เห็นแอปพลิเคชั่นออกมาให้บริการ
ทั้งสองเล่าว่า นโยบายของบริษัทยึดหลักการ "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" เพราะต่อไปการแข่งขันไม่ได้แข่งที่ราคาหรือการลดต้นทุน แต่แข่งกันที่การใช้ความคิดสร้างสรรค์
"จุดขายเรา คือ เข้าใจโจทย์ลูกค้าอย่างแท้จริง และเลือกเทคโนโลยีมาตอบโจทย์ของลูกค้า เราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดและเหมาะสมทำให้ลูกค้าคุ้มค่าไปถึงอนาคต และจุดต่างของเรา คือ ไม่ยึดติดกับเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มใด ๆ ต่างจากซอฟต์แวร์เฮาส์รายอื่นที่มุ่งเฉพาะทาง เพราะเรามองถึงการดึงประโยชน์มาใช้งานจริง ๆ มันอาจจะไม่เจ๋งในสายตาของนักพัฒนาแต่มันตอบโจทย์เชิงธุรกิจได้มีประสิทธิภาพ" เฉลิมพลกล่าว
ก่อนจบการสนทนาทั้งสองบอกว่า ต้องขอบคุณไมโครซอฟท์ที่เป็นผู้สนับสนุนหลักภายใต้โครงการ biz Spark ที่ให้การสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์มาใช้พัฒนาเป็นระยะเวลา 3 ปี มูลค่ากว่า 4 แสนบาท โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 ที่เป็นปัจจัยหลักสำคัญในการพัฒนามัลติทัชให้สำเร็จ รวมถึงยังช่วยหาตลาด เช่น ลูกค้ากลุ่มสถาบันการเงินซึ่งเดิมทีไฟร์ วัน วันไม่สามารถเข้าถึงได้และยังได้รับการสนับสนุนจากซอฟต์แวร์ปาร์คในการช่วย จับคู่ธุรกิจด้วย
งานเปิดตัวระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 เมื่อปลายเดือน ต.ค. 2552 เรียกว่าเป็นเวทีเปิดตัวต่อสาธารณะครั้งสำคัญของบริษัท "ไฟร์ วัน วัน" (FireOneOne) ผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ 6 คน ที่ส่วนใหญ่เพิ่งจบการศึกษาจากหลากหลายสถาบัน และบางคนก็ยังอยู่ระหว่างการรอรับปริญญา
ที่เจอะเจอกันบนเว็บไซต์ท่องเที่ยว ที่คุยกันถูกคอ จนมาร่วมมือกันทำงาน เพราะมีสิ่งที่เหมือนกัน และก็มีความฝันและความสนใจในแนวทางเดียวกัน
ในช่วงที่มีการเปิดตัววินโดวส์ 7 ไม่ว่า ในงานแถลงข่าว ในงานเปิดตัวที่ สยามพารากอนและศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ไฟร์วันวันเรียกว่าเป็นบริษัทซอฟต์แวร์เด็กไทยรายเดียวที่ได้รับเลือกจากไมโครซอฟท์ให้มานำเสนอผลงานสู่สาธารณะ เรียกว่าเป็นการเปิดประตูโอกาสครั้งสำคัญ
สิ่งที่เด็กกลุ่มนี้นำเสนอก็คือ Multi-Touch Technology ของโต๊ะมัลติทัช ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของ "ไมโครซอฟท์ เซอร์เฟซ" ทำให้เริ่มดำเนินการทำเครื่อง Prototype จนสร้างเป็นโต๊ะมัลติทัชจนสำเร็จและใช้งานได้จริง ทำให้ไฟร์ วัน วันได้รับโอกาสที่ดีจากไมโครซอฟท์ให้ไปโชว์ในการเปิดตัววินโดวส์ 7
โต๊ะมัลติทัชที่ว่านี้มีหน้าตาคล้าย "ไมโครซอฟท์ เซอร์เฟซ" ใช้นิ้วเพื่อระบบสัมผัสในการสั่งการที่พัฒนาต่อยอดจากหน้าจอสัมผัสแบบทัชสกรีน
รากฐานความคิดธุรกิจของไฟร์ วัน วัน คือ ความสนุกในการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มแอปเปิล หรือไมโครซอฟท์ ไอโฟนหรือแบล็คเบอร์รี่ ด้วยแนวคิดว่าสามารถเรียนรู้และเข้าใจเทคโนโลยีได้ทุกแขนง โดยไม่ยึดติดกับกรอบเดิม ๆ ที่บริษัทซอฟต์แวร์เคยเป็นกันมา โดยไฟร์ วัน วันวางโพซิชั่นของตัวเอง ไว้ว่า "Creative Software Company"
กำเนิดของ "ไฟร์ วัน วัน" นอกจากความลงตัวของทีมงานแล้ว ยังเป็นความลงตัวของเงินทุน เพราะนอกจากเงินทุนส่วนตัวแล้ว ไฟร์ วัน วันยังได้ทุนดูไบเข้ามาเสริมทัพ จากที่มีรุ่นพี่แนะนำเข้ามา ทำให้การทำงานของไฟร์ วัน วันสามารถก้าวไปตามฝันได้
"ชเล นรินทน์สุขสันติ" หนึ่งในทีมงานและผู้ก่อตั้งไฟร์ วัน วัน เล่าว่า กลุ่มของตนเคยทำงานเป็นที่ปรึกษาด้าน ไอทีมาก่อน ตั้งแต่ยังเรียน
มหาวิทยาลัย จากนั้นเริ่มขยับขึ้นมาเป็นซอฟต์แวร์เฮาส์
หลังจากรวมตัวอย่างหลวม ๆ มานาน สวนทางกับลูกค้าที่เริ่มจริงจังมากขึ้น จึงถึงเวลาที่พวกเขาเลือกที่จะจัดตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการ เพื่อบริหารงานได้ง่ายและเป็นระบบมากขึ้น ส่งผลให้ไฟร์ วัน วันถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงกลางปี 2552
"เราพอใจในความเป็นทีมขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูง ทำงานกันทุกวัน ไม่มีวันหยุด ทำงานกันได้ทุกที่ ทั้งออฟฟิศ, ห้องประชุม, ร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, ล็อบบี้โรงแรม และที่สำคัญสนุกกับการทำงานกันตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นเที่ยงคืนวันศุกร์หรือตีหนึ่งวันอาทิตย์"
"ชเล" เล่าว่า โต๊ะมัลติทัชถือเป็นตัวชูโรงของบริษัท ที่ใช้งบฯพัฒนาโมเดลต้นแบบเกือบ 3 แสนบาท แต่หากนำไปใช้เชิงพาณิชย์จริงก็ขึ้นกับโซลูชั่นที่ลูกค้าแต่ละรายต้องการ ซึ่งการพัฒนามัลติทัชเกิดจากลูกค้าอสังหาริมทรัพย์รายหนึ่งที่อยากได้เพื่อนำไปวางในสำนักงานขายให้ลูกค้าสามารถดู Floor plan, เอกสาร, และรูปแบบห้องลักษณะ 3 มิติ เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพและตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น
เพราะว่าเทรนด์สื่อดิจิทัลมีมากขึ้น และการใช้เมาส์และคีย์บอร์ดไม่สะดวกสบาย การใช้ระบบสัมผัสทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงได้ง่ายกว่า ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีบริษัทรายใหญ่ อาทิ ไมโครซอฟท์ หรือสมาร์ตโฟนเริ่มแนะนำเทคโนโลยีมัลติทัชเผยแพร่ให้คนรู้จักมากขึ้น แต่ยังจำกัดในสหรัฐ ยุโรป
"เฉลิมพล ศรีอุทัยศิริวงศ์" ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอีกคนกล่าวว่า "การใช้งานเชิงคอมเมอร์เชียลของมัลติทัชยังมีข้อจำกัด ตอนนี้ในตลาดส่วนใหญ่เป็นซิงเกิลทัช ต้องเข้าหลายขั้นตอน ไม่ต่างกับการใช้เมาส์ แต่ มัลติทัชสามารถรับข้อมูลที่เข้ามาได้มากกว่า 10 จุด สามารถดีไซน์แอปพลิเคชั่นให้เข้าถึงได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม และหน้าตาน่าใช้มากขึ้น การทำงานอยู่บนพื้นฐานของการเข้าใจโปรแกรมที่ออกมาจากธรรมชาติของมนุษย์จริง ๆ เป็นการแสดงผลและรับคำสั่งในโลกอนาคต"
เทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ เซอร์เฟซ ค่อนข้างล้ำหน้าผู้ผลิตรายอื่น ๆ อยู่มาก อาทิ หากวางบัตรเครดิตลงบนเซอร์เฟซ จะสามารถตัดเงินในบัตรได้เลย หรือวางโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป สามารถแลกรูประหว่างกันได้
"ขณะที่มัลติทัชของไฟร์ วัน วัน ยังต้องพัฒนาต่อไปเพื่อให้ไปถึงระดับนั้น อย่างไรก็ตามต้องขึ้นกับความต้องการของลูกค้าด้วยว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์จริงหรือไม่ เพราะถ้าพัฒนาแล้วลูกค้าไม่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์ถึงขั้นนั้นก็ไม่จำเป็น"
เฉลิมพลอธิบายว่า ประโยชน์ของมัลติทัชสามารถใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ร้านอาหาร ไม่ต้องทำรายการอาหารผ่านเมนูหนังสืออีกต่อไป สั่งอาหารผ่านโต๊ะได้เลย หรือกลุ่มอสังหาริมทริพย์ กลุ่มสถาบันการเงิน นำไปใช้โชว์โมเดลห้องต้นแบบ เครื่องมือทางการเงิน เปรียบเทียบ นวัตกรรมทางการเงิน ลักษณะที่ปรึกษาทางการเงินส่วนตัวที่เข้าใจง่ายขึ้น เป็นต้น
ปัจจุบันก็มีหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการทำวอร์รูมสนใจนำโต๊ะมัลติทัชไปดูแผนที่ แต่หลัก ๆ คือ ภาคเอกชน เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ทั้งสองยังเล่าถึงแผนโกอินเตอร์ด้วย โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการหา โลคอลพาร์ตเนอร์ ซึ่งได้มีการทาบทาม โอเปอเรเตอร์ในดูไบเพื่อทำตลาดแอปพลิเคชั่นบนมือถือ
นอกจากโต๊ะมัลติทัช บริษัทยังมีแอปพลิเคชั่นภายใต้ชื่อ "Mango TV" ลักษณะเป็นมีเดียเซ็นเตอร์ประจำห้อง ไม่ว่าจะเป็นในโรงแรมหรือโรงพยาบาล ให้ลูกค้าเลือกดูหนัง ฟังเพลง สั่งอาหารจากทีวี หรือดูรายงานทางการแพทย์ได้ผ่านรีโมตคอนโทรล นอกจากความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้บริการแล้ว ยังช่วยให้เจ้าของกิจการได้ลดค่าใช้จ่ายด้วย
ถือเป็นการพัฒนาสินค้าโดยดึงความสามารถของแพลตฟอร์มแอปเปิลมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ช่วยให้แขกที่มาพักสามารถจัดโปรแกรมทัวร์ สั่งอาหาร เรียกพนักงานได้แบบครบวงจร ซึ่งปัจจุบันมีโรงแรมที่หัวหินใช้บริการ และโรงพยาบาลรามคำแหงกำลังติดตั้งระบบภายในห้องคนไข้
รวมถึงเทคโนโลยี Augmented reality กล่าวคือ แอปพลิเคชั่นบนมือถือที่จะปรากฏภาพสามมิติ รูป ไอคอน ป้ายบอกทางจราจร ปรากฏขึ้นมาบนมือถือ เมื่อผ่านจุดรับสัญญาณ หรือขับรถอยู่บนถนน อยากรู้ว่าตึกอะไรอยู่ข้างหน้า เพียงชูมือถือขึ้นมาก็จะรู้ได้ว่า ตึกนั้นคืออะไรผ่านทางหน้าจอ และยังสามารถคลิกต่อเพื่อดูการเดินทาง เช็กโปรโมชั่นได้ หรือจะพัฒนาร่วมกับระบบนำทางจีพีเอส ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มมีการพูดคุยกับโอเปอเรเตอร์บางรายแล้ว คาดว่าปีนี้จะได้เห็นแอปพลิเคชั่นออกมาให้บริการ
ทั้งสองเล่าว่า นโยบายของบริษัทยึดหลักการ "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" เพราะต่อไปการแข่งขันไม่ได้แข่งที่ราคาหรือการลดต้นทุน แต่แข่งกันที่การใช้ความคิดสร้างสรรค์
"จุดขายเรา คือ เข้าใจโจทย์ลูกค้าอย่างแท้จริง และเลือกเทคโนโลยีมาตอบโจทย์ของลูกค้า เราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดและเหมาะสมทำให้ลูกค้าคุ้มค่าไปถึงอนาคต และจุดต่างของเรา คือ ไม่ยึดติดกับเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มใด ๆ ต่างจากซอฟต์แวร์เฮาส์รายอื่นที่มุ่งเฉพาะทาง เพราะเรามองถึงการดึงประโยชน์มาใช้งานจริง ๆ มันอาจจะไม่เจ๋งในสายตาของนักพัฒนาแต่มันตอบโจทย์เชิงธุรกิจได้มีประสิทธิภาพ" เฉลิมพลกล่าว
ก่อนจบการสนทนาทั้งสองบอกว่า ต้องขอบคุณไมโครซอฟท์ที่เป็นผู้สนับสนุนหลักภายใต้โครงการ biz Spark ที่ให้การสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์มาใช้พัฒนาเป็นระยะเวลา 3 ปี มูลค่ากว่า 4 แสนบาท โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 ที่เป็นปัจจัยหลักสำคัญในการพัฒนามัลติทัชให้สำเร็จ รวมถึงยังช่วยหาตลาด เช่น ลูกค้ากลุ่มสถาบันการเงินซึ่งเดิมทีไฟร์ วัน วันไม่สามารถเข้าถึงได้และยังได้รับการสนับสนุนจากซอฟต์แวร์ปาร์คในการช่วย จับคู่ธุรกิจด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)